ศิลปวัฒนธรรม มัลดีสฟ์
ศาสนาและความเชื่อ
สาธารณรัฐมัลดีฟส์มีศาสนาอิสลามนิกายสุหนี่เป็นศาสนาประจำชาติ ไม่อนุญาตให้นับถือนิกายอื่นหรือศาสนาอื่น ความเป็นสังคมมุสลิมที่เคร่งครัดทำให้ชุมชนที่สืบทอดกันมาหลายชั่วอายุคนโดยมีความผูกพันกันแนบแน่น มีการช่วยเหลือเกื้อกูลกันประดุจญาติพี่น้อง มุสลิมนิกายสุหนี่มีผู้นับถือมากที่สุดยึดมั่นในบทบัญญัต 5 ประการที่ประกอบด้วยซาฮาดา-ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากพระอัลเลาะห์ และโมฮัมเหม็ดคือผู้เผยแผ่ศาสนา ซาลาธ-การสวดมนต์โดยคุกเข่าหันหน้าไปทางที่ตั้งนครเมกกะวันละ 5 ครั้ง เมื่อพระอาทิตย์ขึ้น กลางวัน บ่าย พระอาทิตย์ตก และเวลาค่ำ มูดิมห์จะทำหน้าที่ประกาศเรียกชาวมุสลิมมายังสุเหร่าเมื่อถึงเวลาแต่ละครั้ง ซากาต-ศาสนบริจาค เป็นการบริจาคทรัพย์สินและสิ่งของเพื่อเอื้อประโยชน์แก่บุคคลที่ด้อยโอกาส หรือคนที่ยากจนขัดสนกว่า ให้เขามีความสุขกายสบานใจบ้าง รามาซานหรือรอมฎอน การถือศีลอดเป็นระยะเวลา 1 เดือน ชาวมุสลิที่บรรลุนิติภาวะแล้วจะต้องถือศีลอด ไม่ดื่มน้ำ และไม่รับประทานอาหารใดๆ ตั้งแต่ก่อนที่ฟ้าจะสาง กระทั่งพระอาทิตย์ตกดิน ระหว่างนี้ยังต้องพูดคุยและกระทำแต่สิ่งที่ดีงาม อดทน อดกลั้น ให้อภัยซึ่งกันและกัน และฮัจจ์ การเดินทางไปสักการะหินศักดิ์สิทธิ์ที่นครเมกกะ ซึ่งชาวมุสลิมทุกคนปรารถนาว่าต้องไปให้ได้อย่างน้อยครั้งหนึ่งในชีวิต
ชาวมัลดีฟส์เชื่อเรื่องการตัดสินด้วยความดีความชั่วหลังจากเสียชีวิต ผู้ที่ทำดีจะได้ขึ้นสวรรค์ผู้ที่ทำชั่วต้องตกนรก ชาวมัลดีฟส์เกือบทุกคนโดยเฉพาะที่อาศัยอยู่ตามเกาะ ยังมีความเชื่อเรื่องไสยศาสตร์และโชคลาง พวกแบ่งเบาระยะเวลา 1 ปี ออกเป็น 27 นาคาอี โดย 1 นาคาอีจะนานประมาณ 2 สัปดาห์ ตามลักษณะอากาศแต่ละนาคาอีมีกำหนดรอบการจับปลา การเพาะปลูก และการเก็บเกี่ยวเพื่อความโชคดี เวลาเกิดอะไรที่หาสาเหตุไม่ได้ จะโทษว่าเป็นฝีมือของปีศาจหรือวิญญาณชั่วร้ายจากทะเล พื้นดิน และท้องฟ้า ต้องแก้ไขโดยเชิญหมอผีประจำหมู่บ้าน หรือฮาคีมมาทำพิธี
ศิลปวัฒนธรรม
มัลดีฟส์เป็นเกาะแห่งชนชาวเรือ ตั้งอยู่ระหว่างเส้นทางเดินเรือสำคัญมาแต่โบราณ จึงรับอิทธิพลวัฒนธรรมจากชาติต่างๆ เอาไว้ไม่น้อยทั้งแอฟริกาตะวันออก อินเดียใต้ ศรีลังกา อาหรับ แม้กระทั่งมาเลเซียและอินโดนีเซีย อิทธิพลจากวัฒนธรรมต่างชาติยังมีหลงเหลืออยู่ในการร้องรำทำเพลงในปัจจุบัน
กาลเวลาผ่านไปนับร้อยๆ ปี ผลกระทบจากสิ่งแวดล้อม สังคมและที่สำคัญที่สุดคือศาสนาสมสานกันจนเกิดเป็นวิถีชีวิตรูปแบบใหม่ ที่มีเอกลักษณืเฉพาะตัวแบบ “ดิเวฮิ” หรือแบบมัลดิฟส์ ซึ่แงม้จะเป็นการใช้ชีวิตท่ามกลางความสมัยใหม่มีแฟชั่นตะวันตก มีเพลงป๊อป เพลงแร็พ หรือ ภาพยนตร์ภาษาฮินดีจากอินเดีย แต่ถ้าหากเป็นงานของชาติ งานของชุมชน หรืองานของศาสนาแล้วนั้น ทุกอย่างต้องเป็นแบบมัลดีฟส์เท่านั้น
นาฎศิลป์
โบดู เบรู (Bodu Beru) เป็นการร้องรำทำเพลงที่พบเห็นในมัลดีฟส์มาตั้งแต่ศตวรรษที่ 11 ลักษณะคล้ายการเต้นรำของชาวแอฟริกาตะวันออกคำว่า “โบดู เบรู แปลว่า กลองใหญ่ ซึ่งคงจะมาจากลักษณะเด่นของการแสดงชุดนี้ที่ใช้กลอง 4-6 ใบตีให้ทำนอง การร้องเพลงมีเนื้อหาเกี่ยวกับความกล้าหาญ ความรัก และการเยาะเย้ยเสียดสี บางวช่วงอาจเป็นการเปล่งเสียงให้เข้าทำนองโดยไม่มีความหมาย เพลงจะเริ่มจากจังหวะเนิบช้าแล้วกระชั้นขึ้นเรื่อยๆ ใช้ผู้แสดงประมาณ 15 คน สมัยก่อนโบดู เบรูเป็นการแสดงพื้นบ้านทั่วไป ปัจจุบันมีแสดงเฉพาะบนเวทีและตามงานพิธีฉลองต่างๆ นักดนตรีสมัยใหม่ยังนำเอาทำนองโบดู เบรูมาดัดแปลงเป็นเพลงร่วมสมัย เพิ่มการบรรเลงเดี่ยวกลอง และใส่เนื้อร้องเป็นภาษาดิเวฮิที่มีความหมายลงไปด้วย
ธารา (Thaara) เป็นภาษาดิเวฮิ แปลว่า กลองแทมบูรีน เป็นการแสดงของชาย 22 คน เต้นและร้องเพลงด้วยภาษาอารบิกตามวัฒนธรรมที่ได้รับจากอาหรับตั้งแต่กลางศตวรรษที่ 17 โบลิมาลาฟัธ เนชุน เป็นการร่ายรำและร้องเพลงของนักแสดงหญิงล้วน 24 คน ตามแบบประเพณีโบราณในพิธีถวายของขวัญแด่องค์สุลต่านเนื่องในโอกาสพิเศษ เช่น เทศกาลอีฎิลฟิตรี ของขวัญซึ่งนำขึ้นถวายส่วนใหญ่ได้แก่เปลือยหอยบรรจุอยู่ในแจกันหรือกล่อง เรียกว่า “คุรานดิ มาลาฟัธ” (Kurandi Malaafath)
บันดิยา เจฮุน (Bandiya Jehun) ดัดแปลงมาจากการาเต้นรำประกอบหม้อของอินเดีย ผู้แสดงเป็นสตรีวัยรุ่นสวมแหวนปลอกโลหะที่ใช้ตีลงบนหม้อโลหะให้เกิดเป็นเสียงต่างๆ ปัจจุบันมีการนำเข้าเครื่องดนตรีชนิดอื่นมาเล่นประกอบด้วย เช่น กลอง ฮาร์โมนิกา ฯลฯ
วรรณคดี
วรรณคดีที่เป็นลายลักษณ์อักษรมีอยู่เพียงเรื่องเดียว เป็นของเก่าตั้งแต่ศตวรรษที่ 1600 ที่เหลือเป็นวรรณคดีพื้นบ้านที่เล่ากันมาปากต่อปาก เนื้อหาส่วนใหญ่เกี่ยวกับพ่อมดหมอผี เวทมนตร์ คาถา มีเรื่องราวสอนใจเกี่ยวกับความเลวร้ายของกิเลส ตัณหา และความละโมบ ผู้ที่ฝ่าฝืนหรือไม่รู้จักพอที่จะได้รับโทษต่างๆ นานา
หัตถกรรม
การทอเสื่อด้วยวัสดุธรรมชาติยังคงมีทำอยู่ในหลายเกาะ ที่มีชื่อเสียงที่สึดคือการทอแบบเก่า เรียกว่า ทันดู คูนา (Thundu Kuna) ทีเกาะกาดห์ดูห์ ในหมู่เกาะกาฟูดาห์ลู อะทอลล์ เสื่อทอผืนสวยมีประดับให้เห็นตามรีสอร์ตต่างๆ เครื่องเขิน ภาษาท้องถิ่นเรียกว่า ลาเจฮัน ใช้ไม้หลายชนิดมาทำเป็นภาชนะเช่น ชาม ถาด กล่อง แจกัน ทำเพื่อถวายเป็นของขวัญแด่สุลต่าน วิธีดั้งเดิมช่างจะกลึงไม้โดยใช้เชือกดึงแกนหมุนด้วยมือ เมื่อได้รูปทรงตามต้องการจึงเคลือบสีต่างๆ ทับกันหลายชั้นจนหนาทิ้งไว้ให้แห้งและแข็ง จากนั้นจึงนำมาแกะลายด้วยเครื่องมือปลายแหลม ลวดลายส่วนใหญ่เป็นดอกไม้สีเหลืองขอบแดงบนพื้นสีดำ คล้ายเครื่องกระเบื้องของจีน ตัวอย่างชิ้นสวยๆ มีโชว์อยู่ในพิพิธภัณฑ์แห่งชาติมาเล่
สถาปัตยกรรม
photo from https://twmagazine.net
บ้านเรือนในเมืองของชาวมัลดีฟส์เป็นแบบเรียบง่าย มีแผนผังชัดเจน ถนนกว้างตัดกันเป็นตารางรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ตัวบ้านก่อด้วยคอนกรีตบล๊อกหรือหินปะการังกับปูนขาว ด้านที่ติดถนนกั้นกำแพงยาว บางหลังมีลานที่มีกำแพงล้อมรอบคล้ายกับห้องเอาท์ดอร์อยู่ด้านหน้า ตั้งชิงช้าอันโดห์ลิและโจลิ (ภาษาพื้นเมือง) ไว้นั่งพักผ่อนยามอากาศร้อน ลานบ้านด้านหลังเป็นส่วนตัวมากกว่า มีกิฟิลิ หรือห้องน้ำกลางแจ้งด้วย กำแพงบริเวณสี่แยกทุกแห่งตัดเว้าเป็นรูปครึ่งวงกลมเพื่อสะดวกในการเลี้ยวรถและทำให้เส้นสายถนนดูสบายตาขึ้น บ้านเรือนตามเกาะต่างๆ ปลูกลักษณะคล้ายกระท่อม ฝาไม้ขัดแตะ หลังคามุงจาก มีห้องน้ำกลางแจ้งอยู่ที่ลานหลังบ้าน รั้วเป็นแนวต้นไม้เตี้ยๆ สุเหร่าโดยทั่วไปก่อสร้างแบบธรรมดา ไม่มีการตกแต่งมากนัก ยกเว้นสุเหร่าเก่าแก่จึงจะมีไม้แกะสลักประดับอยู่ภายใน และหินแกะสลักหลุมฝังศพประดับภายนอก
แพ็คเกจทัวร์มัลดีฟส์ ยังเป็นเส้นทางที่ได้รับความนิยมจากนักทอ่งเที่ยวอยู่ไม่ขาดสาย มากับเราสิคะ