ปราสาทนครวัดนครธม
เทวสถานฮินดู ที่ยังคงความเป็นเอกลักษณ์ และความเก่าแก่
ปราสาทนครวัดนครธม สร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าสุริยวรมันที่ 2 ผู้ปกครองอาณาจักรขอมช่วง พ.ศ.1656-1693 ซึ่งขณะนั้นพราหมณ์ฮินดูนับถือพระวิษณุ (พระนารายณ์) เป็นมหาเทพ รุ่งเรือง สุริยวรมันที่ 2 ซึ่งได้ทรงเป็นเทวาลัยบูชา และให้เป็นที่เก็บพระศพของพระองค์ (ทรงได้พระนามภายหลังสิ้นพระชนม์ว่า ”บรมวิษณุ” ทำให้นครวัดมีอีกชื่อว่า “บรมวิษณุมหาปราสาท”) นครวัดจึงแตกต่างกับปราสาทอื่นๆ ตรงที่หันหน้าไปทางทิศตะวันตก ซึ่งเป็นทิศของผู้ตาย แทนที่จะหันไปทางทิศตะวันออกตามขนบธรรมเนียม ในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ทรงเปลี่ยนนครวัดเป็นศาสนสถานพุทธนิกายมหายาน
ช่วงเริ่มสร้างกลางพุทธศตวรรษที่ 17 (พ.ศ.1650-1693) ที่เป็นเทวสถานฮินดู ครั้นถึง พ.ศ.1720 พระชัยวรมันที่ 7 ต้องทรงย้ายไปเมืองเมืองหลวง ให้สร้างเมืองนครธมและปราสาทบายน เป็นเมืองหลวงใหม่ และกว่าจะเป็นปราสาทนครวัด ต้องใช้หินปริมาตรหลายล้านลูกบาศก์เมตร โดยมีหินทรายเป็นวัสดุก่อสร้างหลัก ใช้แรงงานช้างนับหมื่นเชือกประกอบกับแรงงานคนนับแสน ขนและชักลากหินมาจากเขาพนมกุเลนชึ่งอยู่ห่างออกไปกว่า 50 กิโลเมตร มาสร้างปราสาทมีเสา 1,800 ต้น หนักต้นละกว่า 10 ตัน นครวัดไม่ได้เป็นเพียงศาสนสถานเท่านั้น ยังเป็นราชธานีอีกด้วย อาณาบริเวณจึงกว้างใหญ่ไพศาล มีความยาว 1.5 กม. กว้าง 1.3 กม. รวมพื้นที่ 1,219 ไร่ หรือราว 200,000 ตรม. มีปราสาท 5 หลัง ตั้งอยู่บนฐานสูงตามคติฮินดู คือเป็นศูนย์กลางของโลกและจักรวาล มีน้ำล้อมรอบตามแบบมหาสมุทรล้อมเขาพระสุเมรุ
กำแพงชั้นนอกรอบปราสาทแสนสุดอลังการด้วยงานสลักหิน เหนืออื่นใดคือภาพเล่าวรรณคดี รามายณะ รูปแกะสลักที่มีชื่อที่สุดคือรูปเทวดากับอสูรกวนเกษียรสมุทรด้วยเขาพระสุเมรุ รวมถึงนางอัปสร หรืออัปสราที่มีทั้งหมด 1,635 นาง ที่มีทรงเครื่องและทรงผมไม่ซ้ำกันเลย และมีภาพจำหลักหินด้านหนึ่งเป็นภาพกองทัพสยามที่ส่งไปช่วยรบกับพวกจาม เคยมีอักษรจารึกกำกับเหนือภาพไว้ว่า “สยำ กุก” (ปัจจุบันถูกเอาออกไปแล้ว) ได้สันนิษฐานว่าน่าจะหมายถึงทัพสยามจากทางลุ่มแม่น้ำกก คือเชียงราย เชียงแสน หรือจากสุพรรณบุรี หากท่านมาทัวร์เขมร พลาดไม่ได้กับการชมปราสาทนครวัดนครธม